您现在的位置是:DailyThai > สำรวจ

【bein sport 6】149 องค์กรรวมพลัง ตั้งรับเกณฑ์การค้าโลกใหม่ คืนชีพบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ | เดลินิวส์

DailyThai2024-11-30 10:51:48【สำรวจ】7人已围观

简介ขณะที่ประเทศต่าง ๆ เร่งออกกฎเกณฑ์ที่มุ่งสร้างความยั่งยืนของทรัพยากรและการหมุนเวียนของเสีย โดยอาศัยกา bein sport 6

ขณะที่ประเทศต่าง ๆ เร่งออกกฎเกณฑ์ที่มุ่งสร้างความยั่งยืนของทรัพยากรและการหมุนเวียนของเสีย โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน รวมถึงภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐไทย จึงหยิบหลักการ EPR (Extended Producer Responsibility) หรือ การขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต พัฒนาเป็น “ร่างพ.ร.บ.การจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน” หรือ กฎหมาย EPR ที่มีเป้าหมายประกาศใช้ในปี 2570

องค์กรรวมพลังตั้งรับเกณฑ์การค้าโลกใหม่คืนชีพบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่เดลินิวส์

ทั้งนี้ก่อนที่ภาคบังคับ จะมีผลในการประกาศใช้ “ชญานันท์ ภักดีจิตต์” รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงการเตรียมความพร้อม จนถึงขณะนี้ คณะทำงานได้ขับเคลื่อนการจัดการบรรจุภัณฑ์ตามหลัก EPR ผ่าน 7 แผนงานในระยะ 5 ปี คือ 1. สนับสนุนการดำเนินการภาคสมัครใจ 2. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น 3. พัฒนาแนวทางการดำเนินงานด้าน EPR โดยการถอดบทเรียนจากการนำร่อง 4. จัดเตรียมข้อมูลและฐานข้อมูล 5. แผนพัฒนาข้อเสนอแรงจูงใจ ในการจัดการบรรจุภัณฑ์ตามหลัก EPR 6. สร้างการรับรู้ ความเข้าใจเพื่อสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วน รวมถึงประชาชน 7.การพัฒนากฎหมาย EPR ซึ่งการเริ่มต้นโดยภาคสมัครใจ จะทำให้ขับเคลื่อนมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถทำได้ครบทุกมิติ ทั้งการจัดการตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง

องค์กรรวมพลังตั้งรับเกณฑ์การค้าโลกใหม่คืนชีพบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่เดลินิวส์

ขณะที่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) องค์กรตัวแทนภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ โดย “เกรียงไกร เธียรนุกุล” ประธาน ส.อ.ท. ยํ้าความสำคัญในเป้าหมายการดูแลสิ่งแวดล้อมเรื่องความยั่งยืน ถือเป็นเทรนด์ของโลก โดยยึดหลักของ ESG ในภาคการผลิต ทุกเวทีของโลก รวมถึงทุกคนจะต้องให้ความเอาใจใส่ในเรื่องนี้ จากสถานการณ์ที่มองถึงภาวะโลกร้อน ซึ่งกำลังประสบปัญหาเดียวกันทั่วโลก ผ่านภัยพิบัติ และเรื่องภัยธรรมชาติ ที่จะรุนแรงมากขึ้น ส.อ.ท. ได้ตระหนักและพร้อมผลักดัน การดำเนินการด้าน EPR ผ่านสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรมและภาคส่วนอื่น ๆ เพื่อบูรณาการการทำงาน จากแผนงานสู่ภาคปฏิบัติ เพราะ EPR เป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย องค์ประกอบสำคัญของ EPR อย่างกฎหมาย มาตรการต่าง ๆ ระบบข้อมูล ระบบเก็บกลับ ก็เป็นเรื่องที่ยังไม่มีความพร้อมในปัจจุบัน ดังนั้น TIPMSE จึงอาสารับหน้าที่เป็นตัวกลาง สร้างความร่วมมือ ขยายเครือข่าย พร้อมกับถ่ายทอดองค์ความรู้ ความเข้าใจ เตรียมความพร้อมของภาคอุตสาหกรรมเพื่อรับมือความเปลี่ยนแปลงจากกฎหมายดังกล่าว

องค์กรรวมพลังตั้งรับเกณฑ์การค้าโลกใหม่คืนชีพบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่เดลินิวส์

ที่ผ่านมา TIPMSE ได้เริ่มทดลองทำงานร่วมกับท้องถิ่นกว่า 12 แห่ง ใน จ.ชลบุรี ได้แก่ เทศบาลเมืองแสนสุข เทศบาลเมืองบ้านบึง และเทศบาลตำบลเกาะสีชัง เป็นต้น ก็เพื่อศึกษาความพร้อมของท้องถิ่นในการรับมือกับบทบาทของผู้จัดเก็บและรวบรวม และศึกษาแนวทางการส่งเสริมท้องถิ่นตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรผู้แทนความรับผิดชอบ หรือ PRO จากการทดลองของ TIPMSE ทำให้เราเกิดเครือข่ายความร่วมมือในการเก็บกลับกับอีก 3 องค์กรสำคัญอย่าง PPP Plastic, PRO Thailand Network และ Al Loop และในปี 2568 ก็จะเกิดการทดลองการดำเนินงาน EPR ภาคสมัครใจในการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว เพื่อถอด
บทเรียนการดำเนินงาน และนำเสนอภาครัฐ หาบริบทที่เหมาะสมกับประเทศไทย

องค์กรรวมพลังตั้งรับเกณฑ์การค้าโลกใหม่คืนชีพบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่เดลินิวส์

“โฆษิต สุขสิงห์” รองประธาน ส.อ.ท. และประธาน TIPMSE ได้แสดงความคิดเห็นถึง “ความท้าทายของการพัฒนา EPR ในประเทศไทย ก็คือการที่ภาคอุตสาหกรรมต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้ทันกับมาตรการตามหลัก EPR ที่ประเทศอื่น ๆ กำหนดขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบในการส่งออกหรือการค้าในอนาคตได้ ซึ่งไทยก็อาศัยบทเรียนจากต่างประเทศ พัฒนาองค์ประกอบของ EPR จนมีความก้าวหน้าในขั้นตอนต่าง ๆ เช่น การทดลองทำงานกับท้องถิ่นเพื่อพัฒนาระบบเก็บขน การศึกษาฐานข้อมูลการไหลบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทย การวางแผนการทดลอง PRO การสื่อสารเพื่อสร้างความพร้อมกับผู้เกี่ยวข้อง ทั้งร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ วางรากฐานความรู้ของบุคลากรทางการศึกษาเพื่อบูรณาการเป็นหลักสูตรในการเรียนการสอน ควบคู่ไปกับการสร้างความพร้อมให้กับภาคอุตสาหกรรม มากกว่า 1,000 องค์กร โดยการสร้างความเข้าใจต่อหลัก EPR และการนำหลักการ Eco Design เพื่อสนับสนุนระบบ EPR เน้นออกแบบนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เพื่อเป็น Guideline ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ให้เข้าสู่วงจรรีไซเคิลได้”

องค์กรรวมพลังตั้งรับเกณฑ์การค้าโลกใหม่คืนชีพบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่เดลินิวส์

จากความคืบหน้าในการผลักดันดังกล่าว TIPMSE ยังคงเดินหน้าหาพันธมิตรในการร่วมขับเคลื่อน นอกเหนือไปจากหน่วยงานรัฐ
อย่างกรมควบคุมมลพิษ ที่เป็นครั้งแรกในการพัฒนากฎหมายที่ให้ภาคเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิด หรือองค์กรต่างประเทศ อย่าง GIZ หรือสถานทูตเดนมาร์ก ที่นำทีมผู้เชี่ยวชาญจากประเทศที่มีประสบการณ์เข้ามาร่วมทำงานอย่างจริงจัง อีกทั้ง 149 องค์กร
ในปีนี้ที่แสดงความมุ่งมั่นที่จะยืนเคียงข้างกันในการทำให้ประเทศไทยไม่น้อยหน้าประเทศใด เพราะเราจะเป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

องค์กรรวมพลังตั้งรับเกณฑ์การค้าโลกใหม่คืนชีพบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่เดลินิวส์

ไม่ใช่แค่การเก็บกลับที่ภาคเอกชนให้ความสนใจ การพัฒนาการออกแบบเพื่อให้สามารถรีไซเคิลได้ หรือ Design for Recycle (D4R) เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตมุ่งเป้า แม้ผู้ผลิตต้นนํ้าเองอย่าง กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ที่มองเห็นความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถกลับไปรีไซเคิลได้ ซึ่งหมายถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาจต้องแตกต่างจากในอดีต จากการใช้หลายส่วนประกอบที่ทำให้นำไปสู่การรีไซเคิลได้ยาก หรือ Multilayer Packaging กลับมาเป็น Multilayer Packaging ที่ใช้วัสดุ ส่วนประกอบ หรือพลาสติกชนิดเดียวกันได้ แต่ยังคงรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้ไม่แตกต่าง และยังนำกลับไปรีไซเคิลได้.

องค์กรรวมพลังตั้งรับเกณฑ์การค้าโลกใหม่คืนชีพบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่เดลินิวส์

很赞哦!(49637)

相关文章

站长推荐